ผู้จัดทำ ได้ศึกษางานวรรณกรรมเรื่องนี้ในวิชาวรรณคดีเยอรมัน และมีความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งเพราะ สิทธารถะเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งของ Hermann Hesse ซึ่งรับการแปลมาแล้วหลายภาษา ในด้านเนื้อหากลายเป็นประเด็นถกเถียงกันระหว่างผู้อ่าน ในที่นี้ผู้จัดทำจึงอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตัวเองกับผู้อ่านท่านอื่นๆ ตามความคิดเห็นของผู้จัดทำแล้ว แก่นเรื่องที่ Hesse ต้องการนำเสนอต่อผู้อ่านคือ เราไม่สามารถบรรลุผ่านการสอนได้ แต่เราต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเหมือนเช่นสิทธารถะ ผู้จัดทำเห็นด้วยกับประเด็นความคิดนี้ หากเราย้อนกลับไปมองตามหลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ อย่าเชื่อเพราะเขาเป็นครู และข้อหนึ่งที่ว่าอย่าเชื่อพระพุทธองค์ เพราะว่าพระพุทธองค์คือพระพุทธเจ้า ในความเป็นจริงทุกคนควรที่จะเรียนรู้อะไรด้วยตนเองก่อนจะตัดสินใจเชื่อ
อีกประเด็นที่ถูกถกถียงกันอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้อ่านคือ เรื่องนี้นำเสนอความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก ผู้จัดทำเห็นว่าเรื่องนี้ Hesse นำเสนอภาพความคิดของตัวละครเอกแบบตะวันตก โดยใช้ความเป็นตะวันออกเป็นฉากในการดำเนินเรื่องเท่านั้น แท้จริงแล้วเรื่องนี้เป็นงานเขียนแบบตะวันตก เห็นได้จากความคิดของสิทธารถะกล้าที่จะสงสัยในสิ่งที่คนเอเชียเห็นว่าเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าได้พิสูจน์และตรัสรู้แล้ว สิทธารถะจึงเลือกที่จะแสวงหาแนวทางด้วยตัวเอง คณะผู้จัดทำ จึงต้องการที่จะทราบความคิดเห็นของผู้อ่านท่านอื่นๆว่า คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก
อีกประเด็นที่ถูกถกถียงกันอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้อ่านคือ เรื่องนี้นำเสนอความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก ผู้จัดทำเห็นว่าเรื่องนี้ Hesse นำเสนอภาพความคิดของตัวละครเอกแบบตะวันตก โดยใช้ความเป็นตะวันออกเป็นฉากในการดำเนินเรื่องเท่านั้น แท้จริงแล้วเรื่องนี้เป็นงานเขียนแบบตะวันตก เห็นได้จากความคิดของสิทธารถะกล้าที่จะสงสัยในสิ่งที่คนเอเชียเห็นว่าเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าได้พิสูจน์และตรัสรู้แล้ว สิทธารถะจึงเลือกที่จะแสวงหาแนวทางด้วยตัวเอง คณะผู้จัดทำ จึงต้องการที่จะทราบความคิดเห็นของผู้อ่านท่านอื่นๆว่า คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก
