ผู้จัดทำ ได้ศึกษางานวรรณกรรมเรื่องนี้ในวิชาวรรณคดีเยอรมัน และมีความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งเพราะ สิทธารถะเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งของ Hermann Hesse ซึ่งรับการแปลมาแล้วหลายภาษา ในด้านเนื้อหากลายเป็นประเด็นถกเถียงกันระหว่างผู้อ่าน ในที่นี้ผู้จัดทำจึงอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตัวเองกับผู้อ่านท่านอื่นๆ ตามความคิดเห็นของผู้จัดทำแล้ว แก่นเรื่องที่ Hesse ต้องการนำเสนอต่อผู้อ่านคือ เราไม่สามารถบรรลุผ่านการสอนได้ แต่เราต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเหมือนเช่นสิทธารถะ ผู้จัดทำเห็นด้วยกับประเด็นความคิดนี้ หากเราย้อนกลับไปมองตามหลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ อย่าเชื่อเพราะเขาเป็นครู และข้อหนึ่งที่ว่าอย่าเชื่อพระพุทธองค์ เพราะว่าพระพุทธองค์คือพระพุทธเจ้า ในความเป็นจริงทุกคนควรที่จะเรียนรู้อะไรด้วยตนเองก่อนจะตัดสินใจเชื่อ
อีกประเด็นที่ถูกถกถียงกันอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้อ่านคือ เรื่องนี้นำเสนอความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก ผู้จัดทำเห็นว่าเรื่องนี้ Hesse นำเสนอภาพความคิดของตัวละครเอกแบบตะวันตก โดยใช้ความเป็นตะวันออกเป็นฉากในการดำเนินเรื่องเท่านั้น แท้จริงแล้วเรื่องนี้เป็นงานเขียนแบบตะวันตก เห็นได้จากความคิดของสิทธารถะกล้าที่จะสงสัยในสิ่งที่คนเอเชียเห็นว่าเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าได้พิสูจน์และตรัสรู้แล้ว สิทธารถะจึงเลือกที่จะแสวงหาแนวทางด้วยตัวเอง คณะผู้จัดทำ จึงต้องการที่จะทราบความคิดเห็นของผู้อ่านท่านอื่นๆว่า คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก
อีกประเด็นที่ถูกถกถียงกันอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้อ่านคือ เรื่องนี้นำเสนอความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก ผู้จัดทำเห็นว่าเรื่องนี้ Hesse นำเสนอภาพความคิดของตัวละครเอกแบบตะวันตก โดยใช้ความเป็นตะวันออกเป็นฉากในการดำเนินเรื่องเท่านั้น แท้จริงแล้วเรื่องนี้เป็นงานเขียนแบบตะวันตก เห็นได้จากความคิดของสิทธารถะกล้าที่จะสงสัยในสิ่งที่คนเอเชียเห็นว่าเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าได้พิสูจน์และตรัสรู้แล้ว สิทธารถะจึงเลือกที่จะแสวงหาแนวทางด้วยตัวเอง คณะผู้จัดทำ จึงต้องการที่จะทราบความคิดเห็นของผู้อ่านท่านอื่นๆว่า คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นความเป็นตะวันตกหรือตะวันออก
ในความคิดของเราหลังจากอ่านเรื่องย่อแล้ว เราคิดว่าคำถามในประเด็นที่ว่าการบรรลุไม่สามารถผ่านการสอนได้แต่ควรเรียนรู้ด้วยตัวเอง จริงๆแล้วอาจจะไม่ใช่แค่ความสามารถของตัวเราเองที่จะค้นหาคำตอบที่แท้จริงได้
ReplyDeleteตามหลักกาลามสูตรที่ผู้จัดทำได้อ้างอิงไว้นั้น เราไม่เห็นด้วยทั้งหมดเรามองว่า เพราะถ้าไม่มีคนมาชี้ทางก่อน เราจะรุ้ได้ยังว่าทางที่เขาเดินไม่ถูก หรือสิ่งที่เขาทำไม่ได้ผลพอ เราจะตามหาทางใหม่ เพื่อที่จะลองเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ยังไงถ้าไม่มีแบบให้เราเห็นก่อน จริงอยู่ที่ว่าอย่าไปเชื่ออะไรง่ายๆแม้คนคนนั้นจะเป็นครูของเรา เป็นศาสดา หรืออะไรก็ตามที่เราศรัทธา เราเองก็ไม่ได้สนับสนุนให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่การที่เราจะเชื่อและนำไปลองปฏิบัติแล้วได้ผลจริงก็มี การไม่เชื่อ แล้วหาทางอื่นที่ดีกว่าก็มี แต่ใช่ว่าการเชื่อจะทำให้เราไม่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การเชื่อก็เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองเหมือนกันแต่แค่ไม่ได้ทดลองเองตั้งเเต่เริ่ม เป็นการเรียนรู้จากตัวอย่างนั่นเอง ส่วนจะทำตามตัวอย่างทุกเรื่องหรือปรับวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองนั่นก็อีกเรื่องนึง
ส่วนอีกประเด็น เราเห็นด้วยกับผู้จัดทำ
ลองเม้นท์ก่อนนะ
ReplyDeleteคิดว่าผู้เขียนเป็นชาวตะวันตกที่ต้องการหาคำตอบทางด้านจิตวิญญาณ ตัวของสิทธารถะสะท้อนถึงตัวของ Hesse สภาวะทางสังคม วัฒนธรรมในสมัยนั้น อาจทำให้เขาคิดว่าปรัชญาตะวันออกจะให้คำตอบแก่เขา ปรัชญาตะวันออกปรากฏอยู่ในตอนท้ายของเรื่อง ตอนที่สิทธารถะบรรลุ
ReplyDeleteความเป็นตะวันตกตะวันออก เขาไม่ได้เอาความเป็นตะวันตกครอบตะวันออก
มีการศึกษาวิถีความเป็นตะวันออกมาอย่างดี เข้าใจความเป็ฯตะวีนออก
ในเรื่องนี้มีความเป็นตะวันตกและความเป็นตะวันออก
โดย Panda 4.
คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่แฝงทั้งความเป็นตะวันตกและตะวันออกแล้วแต่ว่าพื้น
ReplyDeleteฐานความคิดของผู้อ่านว่าจะมองในมุมไหน ถ้าเป็นพวกที่เป็นconservative ก็จะมองว่าเรื่องนี้เป็นงานเขียนตะวันออก เพราะพูดถึงหนทางที่จะนำไปสู่การค้นหาคำตอบให้กับชีวิต ต้องการค้นพบหนทางดับทุกข์ หรือบางพวกอาจคิดว่าเป็นงานเขียนตะวันตกล้วนๆ เนื่องจากความคิดของตัวละครสิทธารถะ
ตัวเราเห็นว่ามันเป็นงานเขียนที่ผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันตกและตะวันออก ซึ่งเป็นการผสมอย่างลงตัว
ผู้เขียนมีความเข้าใจวัฒนธรรมอินเดียดีมาก ขอชมเชยในความกล้าที่จะเขียนในวัฒนธรรมที่ต่างจากตัวเขาอย่างสิ้นเชิง
เราว่าก็มีทั้งความเป็นตะวันตกและตะวันออกอยู่ในเรื่องนี้อย่างที่ผู้จัดทำได้กล่าวไว้ เราคิดว่า Hesse ต้องการให้ผู้อ่านกล้าคิดในมุมมองที่แตกต่าง ไม่ใช่ว่าเชื่ออย่างเดียว แต่ต้องคิดตามด้วย เราคิดว่าที่ผู้แต่งเลือกใช้ทั้งตัวละคร ฉาก ที่เป็นตะวันออกในการดำเนินเรื่องนั้น อาจเป็นเพราะผู้แต่งเห็นว่า คนเอเชียส่วนใหญ่มีความผูกพันกับความเชื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยที่ Hesse เอง มีความคิดที่แตกต่าง จึงอยากที่จะนำเสนอความคิดของตนเอง ที่มีเกี่ยวกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงได้แต่งเรื่องนี้ขึ้น
ReplyDeleteเห็นด้วยกับผู้จัดทำนะคะ เพราะคิดว่าคนตะวันตกจะมีความกล้าคิด และมีอิสระทางการตัดสินใจมากกว่าคนตะวันออก จึงคิดว่าเนื้อหาของเรื่องนี้แฝงความเป็นตะวันตกไว้ค่อนข้างมาก เพราะคนตะวันออกมักจะคิดอยู่ในกรอบ คิดตามระเบียบ ตามแบบแผนที่มีผู้ปูทางไว้ให้ แต่คนตะวันตกมีความกล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ กล้าที่จะคิดนอกกรอบ และประสบสิ่งต่างๆด้วยตนเอง อย่างเช่นสิทธารถะ
ReplyDeleteส่วนประเด็นที่ว่าคนเราไม่สามารถเรียนรู้ผ่านการสอนได้นั้น ไม่ค่อยเห็นด้วยค่ะ เพราะคิดว่าคนเราต้องมีผู้สอน ผู้ชี้แนะแนวทาง จึงจะสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
จากการอ่านเรื่องย่อสิทธารถะ ดิฉันคิดว่าคนเรานั้นมีวิธีเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจและบรรลุแตกต่างกัน เพราะคนเราแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ที่แต่ต่างกัน บ้างคนต้องมีผู้สอนและอธิบายให้ความรู้จึงจะเข้าใจแต่บ้างคนสามารถที่จะศึกษาแลเรียนรู้ได้วยตัวเอง ดังนั้นดิฉันเชื่อว่าคนเราสามารถบรรลุได้ถ้ามีความตั้งใจจริงไม่ว่าจะด้วยผู้อื่นสอนหรือด้วยตัวเอง
ReplyDeleteผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องที่แหวกแนวที่น่าสนใจโดยกำหนดตัวละครเป็นชาวเอเชียที่มีความคิดแบบชาวตะวันตก กล้าที่จะคิดออกนอกกรอบที่จำกัดความคิดของชาวเอเชียไว้ เสนอมุมมองที่แตกต่าง ทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าอ่านอีกเรื่องหนึ่ง
Es ist sehr gut und nützlich Blog! wie Cool sind ihr!!
ReplyDeleteIhr könnt auch Tiger und mir helfen weil wir auch das Magazine über Siddhartha schrieben müssen :)
vielen Dank *hehe*
你好!
ReplyDeleteก้อแบบว่าฉากมันก็เป็นตะวันออกอะนะ
แต่ความคิดของตัวละครมันก็เป็นตะวันตกอะ
ก้อคนแต่งเป็นคนตะวันตก ก็ต้องใส่ความคิดแบบตะวันตกเข้าไปด้วย
มันธรรมด๊า ธรรมดา อิอิ
มันคือเรื่องเดียวกันกับศาสนาพุทธ แต่เมื่อได้อ่านเรื่องย่อแล้วรู้สึกว่ามีกลิ่นอายตะวันตกผสมปนอยู่ ในความเห็นของข้าพเจ้า คิดว่าในเหตุผลหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าการที่เราได้เรียนรู้ได้ศึกษาได้ค้นค้วาหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเองนั้น ย่อมที่จะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธฺภาพและมีคุณค่า ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะต้องทุ่มเทหลายๆสิ่งไปไม่ว่าจะเป็นทั้งแรงกาย แรงใจ และเวลา บางครั้งก็อาจจะสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไปโดยไม่เกิดผลอะไรเลยก็ตาม แต่เราก็จะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ในสิ่งๆนั้น สิ่งที่เราต้องการคำตอบ สิ่งที่เราอยากรู้ สิง่ที่เราพยายมค้นหา สามารถที่จะจดจำไว้เป็นบทเรียนสำหรับตนเอง มันหยั่งรากฝังลึก เติบโตและหลอมรวมอยู่ในตัวของเราเอง แต่อีกเหตุลหนึ่งนั้นข้าพเจ้าคิดว่า การที่เราได้เรียนรู้โดยที่มีคนสอนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีเสียทีเดียว จะเป็นทางลัดสำหรับเราให้ได้พบกับผลลัพธ์ที่เร็วขึ้น จะได้พบแต่วิถีทางที่ถูกต้องแม่นยำ ไม่ต้องพบเจอกับความล้มเหลวความผิดพลาดหรือความผิดหวัง ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยให้เราพบกับผลสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น
ReplyDeleteเห็นด้วยกับความคิดของผู้จัดทำค่ะ เพราะจากที่ได้อ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความเป็นตะวันตกจากการแสดงออกของตัวละครที่ชื่อสิทธารถะ รู้สึกถึงความคิดเห็นที่เป็นลักษณะความคิดจากโลกเสรี ที่เห็นว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกันและสามารถแสดงความคิดเห็นหรือใช้เหตุผลถกเถึยงกันได้อย่างเสรี อีกประเด็นที่ว่าเราไม่สามารถบรรลุโดยผ่านการสอนได้นั้น คิดว่าเป็นจริงค่ะเพราะการได้ปฏิบัติหรือทำอะไรด้วยตัวเองแล้วก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้มากกว่าการที่เราฟังจากการบอกเล่าของผู้อื่น
ReplyDeleteตามความคิดของเรานะ เราว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่น่าสนใจเพราะจากที่เราอ่านเรื่องย่อก็สัมผัสถึงการดำเนินเรื่ิอง ตัวละคร และฉากที่มีความเป็นตะวันออกแต่ในทางด้านความคิดจะมีความเป็นตะวันตกแฝงอยู่ด้วยเห็นได้จากในด้านของตัวละครเอกที่มีความเป็นปัจเจกสูงมาก นั้นอาจเป็นเพราะผู้เขียนเป็นชาวตะวันตกที่ศึกษาลึกซึ้งเกี่ยวกับโลกตะวันออกและต้องการสื่อออกมาทางวรรณกรรมแก่ผู้อ่าน เป็นความผสมผสานที่ลงตัว
ReplyDeleteและเกี่ยวกับข้อคิดที่ได้จากเรื่องเราได้ข้อคิดว่าความรู้ไม่ได้อยู่แค่การเรียน ทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้สามารถเป็นครูของเราได้
อ่านแล้วก็นึกถึงกามนิตภาคพื้นดินครับ.............
ReplyDeleteธรรมดาวิสัยมนุษย์เมื่อเกิดความสนเท่ห์จนเกิดเป็นเหตุนำไปสู่ความหน่ายในสิ่งที่ตนมี ตนเป็นอยู่ ที่สุดก็ต้องหาหนทางแห่งการดับไฟทุกข์ที่สุมใจของตนอยู่ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม ซึ่งหากพิจารณาแล้วก็สอดคล้องกับแนวทางของอริยสัจ ๔ ซึ่งเรื่องสิทธารถะนั้นแสดงให้เราเห็นภาพแห่งการแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นได้เป็นอย่างดี
ประเด็นเรื่องความเป็นตะวันตกและความเป็นตะวันออกนั้นผู้แต่งอุปลักษณ์กับทัศนคติของตัวละครได้อย่างแยบยล เราจะเห็นว่า "ความกล้า" ของสิทธารถะนั้นสะท้อนแนวคิดของความเป็นตะวันตกได้อย่างดี เป็นแบบอย่างของการศึกษาปัจจุบันได้เป็นอย่างดี การยึดติดกับทฤษฎีจนเกินไปนั้นอาจทำให้ความรู้เหมือนถูกโซ่ล่ามไว้ ไม่เกิดการพัฒนาแต่อย่างใด เพราะหากพิจารณาดีๆ สรรพวิทยาบนโลกนั้นล้วนมีพื้นฐานมาจากจินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดจากการคิด) เป็นสำคัญ หากความรู้ที่เกิดจากบูรพาจารย์เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้นแล้ว ศาสตร์แขนงใหม่ๆ ก็ถือเป็นการผิดครู อย่างนั้นหรือ?
อืมม เราก็เห็นด้วยว่าแก่นเรื่องคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ตอนแรกที่อ่านก็คิดว่าจะเป็นเรื่องพระพุทธเจ้า แต่เมื่ออ่านไปแล้วก็รู้ว่าไม่ใช่
ReplyDeleteด้วยความที่เราเป็นชาวพุทธเราก็สามารถโยงได้ว่า ตัวเอกของเรื่องก็ใช่หลักกาลามสูตรเหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่าไม่ได้บรรยากาศแบบตะวันออกจริงๆ ถึงแม้จะมีการใช้วัฒนธรรมหรือฉากที่เป็นตะวันออกก็ตาม
Ich habe dreimal gelesen. Es ist so schwer zu verstehen,denn es gibt viele Worte, die ich nicht erkennt. Aber Inhalt ist sehr interesant. Siddhartha ist idische Dichtung, denn es viele Merkmale gibt z.B. Hintergrund: Salwald Namen der Figuren : Kamala, Vasudeva, Govinda. In diesem Blog ist sehr gute Punkt. man kan viel mit diesem Blog lernen. wenn man kann nicht Deutsch lesen, liest man Thailändisch. Sie haben gut gemacht.
ReplyDeletetiger
จริงอยู่ที่ว่า คนเราควรที่จะแสวงหาสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ไม่ใช่เชื่อทั้งหมด แต่บางที่มันก็เสี่ยงเกินไปที่จะทำอะไรโดยไม่มีผู้นำทางที่เปรียบเสมือนครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนตะวันออก ที่ส่วนใหญ่ไม่กล้าเสื่ยงที่จะคิดนอกกรอบจากที่คนส่วนใหญ่ปฎิบัติไว้ ส่วนอีกประเด็นเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าความคิดของสิทธารถะเป็นความคิดเป็นตะวันตก สังเกตได้ไม่ยากเลย
ReplyDelete